ภาพรถตู้อุบล ที่ให้บริการ รถตู้อุบล
ภายในรถตู้ที่ให้บริการ
รถตู้อุบล ที่ให้การบริการ เป็นรถตู้แบบ VIP เบาะ9 ที่นั่ง ทุกคันแต่งภายใน แอร์แบบไมโครบัส มีคอมพิวเตอร์สำหรับการพักผ่อนตามเส้นทางที่ยาวไกล ลูกค้าสามารถกดเพลงร้องได้อย่างอิสระ เพราะว่าทุกเพลงเราได้บรรจุเพลงที่จะให้ร้องไว้ในคอมพิวเตอร์เรียบร้อยแล้วครับ ซึ่งเราขอแนะนำสถานที่ ท่องเที่ยวดังต่อไปนี้
ที่เที่ยวมุกดาหารกับรถตู้อุบล จังหวัดชายแดนภาคอีสานของไทย เปรียบเสมือนเป็นประตู่สู่กลุ่มประเทศอินโดจีน เต็มไปด้วยสถานที่ท่องเที่ยวสวย ๆ และวิถีชีวิตผู้คนที่น่าสนใจ
จังหวัดมุกดาหาร มีเนื้อที่ประมาณ 4,340 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 52 ของประเทศ สภาพพื้นที่ทางทิศเหนือและทิศใต้เป็นที่ราบสูง ทางทิศตะวันตกเป็นเทือกเขาภูพานมีป่าไม้หนาแน่น ส่วนทิศตะวันออกเป็นที่ราบสลับป่าไม้ และมีแม่น้ำโขงไหลผ่านเป็นระยะทางประมาณ 72 กิโลเมตร เป็นแม่น้ำสายสำคัญของจังหวัด เริ่มก่อตั้งเป็นเมืองขึ้นในราวปี พ.ศ. 2310 สมัยปลายกรุงศรีอยุธยา เมื่อ “เจ้ากินรี” บุตรชายของเจ้าจันทรสุริยวงศ์ ผู้ปกครองบ้านหลวงโพนสิน ซึ่งตั้งอยู่ที่บริเวณพระธาตุอิงฮัง แขวงสะหวันนะเขต (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในปัจจุบัน) ได้ข้ามลำน้ำโขงมาสร้างเมืองขึ้นที่บริเวณปากห้วยมุก แล้วตั้งชื่อเมืองว่า เมืองมุกดาหาร ต่อมาในปี พ.ศ. 2321 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชก็ได้พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้เจ้ากินรีเป็น “พระยาจันทรศรีสุราช อุปราชามัณฑาตุราช” ดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองเป็นคนแรกของเมืองมุกดาหาร
มุกดาหาร จังหวัดชายแดนทางภาคอีสานของไทย หลายคนอาจมองว่ามุกดาหารเปรียบเป็นเมืองหน้าด่านที่ทอดผ่านไปประเทศเพื่อนบ้าน ด้วยเพราะลักษณะของภูมิประเทศติดกับแม่น้ำโขง ทำให้ที่มุกดาหารมีวิวสวย ๆ รวมถึงยังพลเมืองจังหวัดที่ประกอบด้วยชนพื้นเมืองที่หลากหลาย มุกดาหารจึงเป็นจังหวัดที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรมท้องถิ่นที่งดงามและมีเอกลักษณ์ไม่ซ้ำแบบใคร ที่สำคัญมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติสวย ๆ มากมาย สามารถพูดได้เลยว่ามุกดาหารเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่น่าสนใจและไม่ควรมองข้าม มุกดาหารในวันนี้จะมีอะไรน่าสนใจและน่าเที่ยวบ้างนั้น ตามมาดูกันเลย
วัดพระศรีมหาโพธิ์ เป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองมานานนับ 100 ปี ตั้งอยู่กลางใจเมือง บริเวณริมฝั่งแม่น้ำโขงตั้งอยู่ที่บ้านหว้านใหญ่ อำเภอหว้านใหญ่ ภายในวัดจะมีโบราณสถานคือสิมอีสาน (โบสถ์) ที่เก่าแก่ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2459 ศิลปะผสมตะวันตก ไทย เวียดนาม ฝรั่งเศส เป็นสิมที่ผนัง 3 ด้าน ภายในผนังจะมีธูปแต้มหรือจิตรกรรมฝาผนังเรื่องราวของพระเวสสันดรชาดกที่เป็นฝีมือของช่างพื้นบ้าน ซึ่งนับว่าเป็นภาพที่งดงามและหาดูได้ยากในปัจจุบัน นอกจากนี้ภายในวัดยังมีกุฏิเก่าแก่ซึ่งปัจจุบันทำเป็นห้องสมุดประชาชน สร้างโดยช่างชาวเวียดนาม เป็นสถาปัตยกรรมแบบฝรั่งเศส มีซุ้มประตูและหน้าต่างเป็นรูปโค้ง สวยงามแปลกตา
2. วัดศรีมงคลใต้
วัดศรีมงคลใต้ ตั้งอยู่บริเวณถนนสำราญชายโขง ริมแม่น้ำโขงในตัวเมืองมุกดาหาร เป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างสมัยกรุงธนบุรี ภายในพระอุโบสถประดิษฐาน “พระเจ้าองค์หลวง” พระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง ประชาชนชาวไทยและลาวเลื่อมใสศรัทธามาหลายชั่วอายุคน สร้างขึ้นก่อนตั้งเมืองมุกดาหาร แต่ไม่ปรากฏว่าสร้างในสมัยใด มีขนาดหน้าตักกว้าง 2.20 เมตร ส่วนสูงเฉพาะองค์ถึงยอดพระเมาลี 2 เมตร
3. ศาลเจ้าพ่อเจ้าฟ้ามุงเมือง
ตั้งอยู่บนถนนสองนางสถิตย์ ในเขตเทศบาลเมืองมุกดาหาร ในบริเวณศาลมีหลักเมืองประดิษฐานอยู่ด้วย ศาลเจ้าพ่อเจ้าฟ้ามุงเมืองนี้ไม่มีผู้ใดทราบความเป็นมาว่าสร้างในสมัยใด สันนิษฐานว่าคงจะสร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างเมืองมุกดาหาร แต่เดิมเป็นเพียงศาลไม้ต่อมาได้มีการบูรณะก่อสร้างเป็นศาลคอนกรีต ชาวเมืองมุกดาหารถือว่าศาลเจ้าพ่อเจ้าฟ้ามุงเมืองเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ปกปักรักษาเมืองมุกดาหารให้ร่มเย็นเป็นสุข ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี ชาวเมืองมุกดาหารจะมีพิธีบวงสรวงเจ้าพ่อเจ้าฟ้ามุงเมืองพร้อมกับเจ้าแม่สองนางพี่น้องพร้อมกันเพื่อความเป็นสิริมงคล
4. ศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้อง
ศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้อง ตั้งอยู่บนถนนสำราญชายโขง ริมแม่น้ำโขง เยื้องไปทางทิศเหนือของวัดศรีมงคลใต้ ติดกับด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดมุกดาหาร ศาลแห่งนี้เดิมเป็นศาลไม้ต่อมาได้มีการบูรณะเรื่อยมาจนเป็นคอนกรีตดังปัจจุบัน
ศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้องนี้มีเรื่องเล่าขานกันมานานว่าราวปี พ.ศ. 1896 เจ้าฟ้างุ้ม แห่งเมืองล้านช้าง เป็นบุตรเขยกษัตริย์เมืองอินทะปัด ได้พาลูกหลานอพยพตามลำน้ำโขงผ่านเมืองหนองคาย เมืองนครพนม จนถึงเขตเมืองมุกดาหาร แล้วเกิดเรือล่มที่บริเวณปากห้วยมุกทำให้ธิดาสาวทั้งสองคนซึ่งมีพระนามว่า พระนางพิมพา กับ พระนางลมพามา สิ้นชีพิตักษัย จนกระทั่งปี พ.ศ. 2313 เจ้ากินรีได้มาสร้างเมืองมุกดาหารพร้อมกับได้สร้างโบสถ์วัดศรีมงคลใต้ขึ้น และในขณะก่อสร้างได้พบพระเมาลีพระพุทธรูปเหล็กจมอยู่ใต้พื้นดิน (บริเวณศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้องในปัจจุบัน) จึงขุดไปประดิษฐาน ณ โบสถ์วัดศรีมงคลใต้ แต่พอรุ่งขึ้นพระพุทธรูปเหล็กองค์นั้นก็กลับมาประดิษฐานอยู่ที่เดิมที่พบในครั้งแรกอีก ชาวบ้านจึงพากันเรียกว่า “พระหลุบเหล็ก”
ประกอบกับบริเวณดังกล่าว ทุกวันขึ้น 11 ค่ำ เดือน 6 จะมีเสียงร่ำไห้ของผู้หญิงสองคน ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าเป็นเสียงของพระนางพิมพากับพระนางลมพามา และได้แสดงอภินิหารให้ปรากฏอยู่เนือง ๆ เจ้ากินรี เจ้าเมืองมุกดาหารได้สืบทราบประวัติแห่งความเป็นมาจึงตั้งศาลขึ้น ณ ที่แห่งนั้น เพื่อให้วิญญาณได้สิงสถิต เมื่อ พ.ศ. 2315 และได้ขนานนามว่า “ศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้อง” อันเป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองมุกดาหารโดยทั่วกัน โดยถือเอาเดือนพฤษภาคมของทุกปีเป็นเดือนที่ทำพิธีเซ่นไหว้และบวงสรวงศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้องตั้งแต่นั้นมาจนถึงทุกวันนี้
ทั้งนี้ชาวจังหวัดมุกดาหารถือว่าศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้องเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ คู่กับศาลเจ้าพ่อเจ้าฟ้ามุงเมือง ผู้ใดที่เคารพสักการะศาลเจ้าพ่อเจ้าฟ้ามุงเมืองแล้ว จะเลยไปเคารพสักการะศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้องด้วยเสมอ และในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี ชาวจังหวัดมุกดาหารจะจัดให้มีพิธีบวงสรวง เจ้าพ่อเจ้าฟ้ามุงเมือง และเจ้าแม่สองนางพี่น้องพร้อมกัน
5. สักการสถานพระมารดาแห่งมรณสักขี วัดสองคอน
ตั้งอยู่ที่ตำบลป่งขาม อำเภอหว้านใหญ่ เป็นโบสถ์คริสต์สร้างแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ที่มีความสวยงามและใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีงานบุญราศีวัดสองคอน จัดขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติบุญราศี มรณสักขีทั้ง 7 ท่าน ที่ได้พลีชีพเพื่อยืนยันความเชื่อในองค์พระผู้เป็นเจ้า เมื่อครั้งเกิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ปัจจุบันวัดสองคอนกำลังเป็นแหล่งศาสนาคริสต์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และยังมีชื่อเสียงในเรื่องความงดงามแปลกตาของตัวอาคาร คือเป็นโบสถ์คริสต์สร้างแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่ใหญ่และสวยที่สุดในอุษาคเนย์ เคยได้รับรางวัลสถาปัตยกรรมดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปี พ.ศ. 2539 โบสถ์แห่งนี้ได้ออกแบบโดย ดร.อัชชพล ดุสิตนานนท์ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กโถงสี่เหลี่ยมชั้นเดียว ผนังของวัดและส่วนไว้พระธาตุเป็นกระจกใส บริเวณด้านหน้าเป็นส่วนประกอบพิธี มีพื้นที่กว้างขวาง ส่วนด้านหลังเป็นที่เก็บอัฐิของบุญราศีทั้ง 7 ภายในมีโลงแก้วบรรจุหุ่นขี้ผึ้งของบุญราศีทั้ง 7 ไว้ให้สักการบูชา มีไม้กางเขน 7 แห่ง ด้านหน้าแทนบุญราศีทั้ง 7 ที่อุทิศชีวิตในป่าศักดิ์สิทธิ์เพื่อพิสูจน์ศรัทธาที่มีต่อพระเจ้า ทุก ๆ ปี ในวันที่ 22 ตุลาคม คณะกรรมการบุญราศรีจะมีพิธีเฉลิมฉลองรำลึกถึงการสถาปนาแต่งตั้ง “บุญราศีมรณสักขี” และในวันที่ 16 ธันวาคมของทุกปีจะมีพิธีรำลึกบุญราศีสองคอน(ดูเพิ่มเติมได้ที่ thai.tourismthailand.org)
วัดสองคอนมีบริเวณกว้างขวางและมีพื้นที่ติดกับแม่น้ำโขง เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมและสักการะทุกวันระหว่างเวลา 08.00-18.00 น. คริสตชนสามารถร่วมพิธีบูชามิสซาได้ในวันอาทิตย์ เวลา 07.00 น. (ข้อแนะนำ : สักการสถานพระมารดาแห่งมรณะสักขี เปิดให้นักท่องเที่ยวทั่วไปเข้าชมและสักการะได้ทุกวัน ระหว่างเวลา 09.00-12.00 น. และ 13.00-17.00 น.)
ขอบคุณข้อมูลจาก Ka Pook .com